การ์ดแสดงผล
การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดจอ (video card หรือ display card)
เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผลการ์ดแสดงผล เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ทำหน้าทีในการประมวลผลสัญญาณของภาพเพื่อส่งต่อไปยังมอนิเตอร์
เพื่อแสดงภาพ สำหรับการ์ดแสดงผลนี้เป็นจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่ต้องการภาพที่สมจริงรวมไปถึงคนที่ต้องการเล่นเกมส์
และคนที่ชอบตัดต่อ VDO ส่วนใหญ่แล้ว
ก็จะติดตั้งมาพร้อมเมนบอร์ด แต่คนที่ต้องการจะมีการ์ดแสดงผลแยกตางหากก็สามารถ
เลือกที่ไม่มีติดตั้งก็ได้
ผู้ผลิตการ์ดแสดงผล
AMD
หรือที่ใช้ชื่อว่า ATI Raedonผลิตการ์ดแสดงผล
(Expansionscard)เป็นคู่แข่งกับบริษัทNvidiaทาง Nvidiaมีจุดเด่นที่ส่วนประมวลผล PhysX ซึ่งจะประมวลผลทางฟิสิกส์ เช่นไอน้ำ กระดาษปลิว กระจกแตก
ล้อรถหลุดและกลิ้งไปตามถนนล้มลง มีระบบ Surround
ซึ่งสามารถต่อจอแสดงผลได้ 3 จอแบบเชื่อมต่อกันแต่ต้องใช้การ์ดสองตัวขึ้นไปหรือการ์ดที่มี
GPU คู่ และมีระบบ 3DVisionซึ่งประมวลผลภาพ
3 มิติออกมาได้
ส่วน
AMD มีจุดเด่นที่ระบบ Eyefinityซึ่งสามารถต่อจอแสดงผลได้
3-6 จอแบบเชื่อมต่อกันโดยใช้การ์ดใบเดียว และมีระบบ HD3D
ซึ่งประมวลผลภาพ 3 มิติออกมาได้เช่นเดียวกับ Nvidiaแต่ใช้ระบบที่ไม่ซับซ้อน
การทำงาน
การ์ดแสดงผลสมัยเก่าทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx
และ nVidia ทำให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก
ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้เป็นมาตรฐาน
และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GPU (Graphic
Processing Unit) โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
ได้มาก
ในปัจจุบันการ์ดแสดงผลจำนวนมากไม่อยู่ในรูปของการ์ด
แต่จะอยู่เป็นส่วนหนึ่งของแผงเมนบอร์ดซึ่งทำหน้าที่เดียวกัน
วงจรแสดงผลเหล่านี้มักมีความสามารถด้านสามมิติค่อนข้างจำกัด
แต่ก็เหมาะสมกับงานในสำนักงาน เล่นเว็บ อ่านอีเมล เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถด้านสามมิติสูง ๆ เช่น ใช้เพื่อเล่นเกมคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในรูปของการ์ดที่ต้องเสียบเพิ่มเพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นสามมิติที่สมจริง
ในทางกลับกัน การใช้งานบางประเภท เช่น งานทางการแพทย์
กลับต้องการความสามารถการแสดงภาพสองมิติที่สูงแทนที่จะเป็นแบบสามมิติ
เดิมการ์ดแสดงผลแบบสามมิติอยู่แยกกันคนละการ์ดกับการ์ดแบบสองมิติและต้องมีการต่อสายเชื่อมถึงกัน
เช่น การ์ด Voodoo ของบริษัท 3dfxซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว
ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสามมิติมีความสามารถเกี่ยวกับการแสดงผลสองมิติในตัว
ประเภทของการ์ดแสดงผล
การ์ดแสดงผลในปัจจุบันถูกพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้นมีการผลิตการ์ดเพื่องานเฉพาะด้านหลากหลายชนิดโดยการ์ดเหล่านี้จะมีชิปประมวลผลบนตัวการ์ดเพื่อจะช่วยให้งานประมวลผลทางด้านกราฟฟิก3 มิติสามารถทำได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วยคุณสมบัติที่หลากหลายของการ์ดแสดงผลในปัจจุบันทำให้ขอบเบตการใช้งานของมันไม่ได้เพียงใช้เล่นเกมส์หรือใช้งานด้านเอกสารเช่นในอดีตที่ผ่านมา
ความสามารถที่มีอยู่ในตัวเครื่องระดับWorkstation ที่ใช้ในงานด้านกราฟฟิกระดับสูงได้ถูกรวมเอาไว้ในการ์ดแสดงผลด้วยทำให้ผู้ที่ต้องการใช้งานด้านกราฟฟิกสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมทั้งนี้การ์ดแสดงผลสามารถแบ่งประเภทได้ตามลักษณะการใช้งานต่าง
ๆดังนี้
1.การ์ดจอแบบ ISA และ VL เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 386 และ 486 รุ่นแรกๆ การ์ดรุ่นนี้สามารถแสดงสีได้เพียง 256 สีเท่านั้น การ์ดภาพจึงจะไม่สมจริงเท่าไรนัก เพราะขาดสีบางสีไป
2.การ์ดจอแบบ PCI เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
486 รุ่นปลายๆ เช่น486DX4-100
และเครื่องระดับเพนเทียม จะมีความเร็วในการแสดงผลสูงกว่าการ์ดจอแบบ ISA
3.การ์ดจอแบบ AGP เป็นการ์ดจอที่แสดงผลได้เร็วที่สุด
เริ่มใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น ADMK6-II/III K7, Pentium II/III และ Celeron
1. ใช้ในการเอกสารทั่วไปและอินเตอร์เน็ตการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านเอกสาร เช่น ชุดโปรแกรมMicrosoft
Office จัดเป็นงานที่ไม่เน้นการแสดงผลด้านกราฟฟิกสูงมากซึ่งสามารถใช้การ์ดแสดงผลระดับขั้นพื้นฐานทั่ว
ๆ ไปก็เพียงพอแล้วสำหรับงานประเภทนี้
ข้อสำคัญก็คือการ์ดแสดงผลที่จะนำมาใช้กับงานด้านนี้ต้องสามารถรองรับความละเอียดสูงพอที่จะดูรายละเอียดของงานด้านเอกสารได้อย่างทั่วถึงในหน้าจอเดียวซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเลื่อน
Scrollbar บ่อย ๆ และมีความสามารถในการรองรับ Refresh
Rate สูง ๆ ได้ คุณสมบัคิต่าง
ๆเหล่านี้จะช่วยถนอมสายตาของผู้ใช้งานเมื่อต้องนั่งทำงานอยู่กับหน้าจอเป็นเวลานาน
ๆ
2. ใช้ในงานกราฟฟิก2 มิติ/ตัดต่อภาพวิดีโอการ์ดแสดงผลประเภทนี้ใช้ในงานแสดงภาพเคลื่อนไหวประเภท
2 มิติการตัดต่อวิดีโอ รวมทั้งงานด้านออกแบบตกแต่งภาพ 2 มิติการ์ดประเภทนี้จะต้องมีความสามารถในการประมวลผลที่รวดเร็วและสามารถรองรับการทำงานในโหมด
24 บิต(True Color) และสามารถปรับรายละเอียดของภาพได้
1,024 x 768 เป็นอย่างต่ำส่วนงานด้านการตัดต่อวิดีโอต้องใช้ฮาร์ดแวร์ที่มีคุณสมบัติของ
Video Capture จึงจะสามารถจับสัญญาณจากวิดีโอเข้ามายังคอมพิวเตอร์โดยผ่านช่องสัญญาณ
AV บนตัวการ์ดได้
3. ใช้ในงานออกแบบการฟฟิก 3 มิติ/เขียนแบบ
CAD/CAM เหมาะสำหรับนักออกแบบกราฟฟิก3 มิติ การใช้งานโปรแดรม 3D Studio หรือ
AutoCAD จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเลือกใช้ Hardware ที่มีคุณสมบัติด้านภาพ 3 มิติอย่างครบครัน
การ์ดสำหรับงานกราฟฟิก3 มิตินี้จะไม่เหมือนกับการ์ด 3
มิติที่ใช้สำหรับการเล่นเกม 3 มิติตรงที่มันสามารถรองรับการทำงานของOpenGl(โอเพนจีแอลOpenGL, เป็นตัวย่อของคำว่า Open
Graphics Library) เป็น) ของบริษัทไมโครซอฟท์) นอกจากการพัฒนาเพื่อวีดีโอเกมโอเพนจีแอลยังใช้ในทางด้านอื่นๆ
รวมถึงการ การประมวลผลภาพงานจำลองการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ และ
การแสดงภาพจำลองในระบบสารสนเทศ
4. ใช้เพื่อเล่นเกมส์3 มิติการแสดงภาพของเกมส์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันล้วนแล้วเน้นไปทางด้านภาพกราฟฟิก
3 มิติกันมากขึ้นซึ่งต้องอาศัยคุณสมบัติเฉพาะของการ์ดแสดงผลที่ช่วยเร่งความเร็วในการแสดงผลของแต่ละฉากของเกมส์เพื่อให้แต่ละเฟรมลื่นไหลไม่เกิดอาการสะดุดซึ่งการ์ดแสดงผลที่นิยมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้แก่
การ์ดตระกูล GeForce ซึ่งมีจุดเด่นในด้านความเร็วและการสนับสนุนทางด้าน
Driver ที่ดีจึงสามารถรองรับการทำงานของเกมส์ได้แทบจะทั้งหมดตัวอย่างรูปภาพของการ์ดแสดงผล
การเลือกซื้อการ์ดแสดงผล

โดยปกติแล้ว
การที่เราจะทราบผลลัพธ์ของการประมวลผล หรือผลลัพธ์ของการทำงานของ CPU ได้นั้น
เรามักจะดูผลลัพธ์ผ่านทางหน้าจอภาพ หรือ Monitor หากเรามองว่าเราสื่อสาร
หรือติดต่อกับทาง Computer ผ่านทาง Keyboard หรือ Mouse แล้ว Monitor นี้
ก็คือที่ทาง Computer ใช้ในการติดต่อกับผู้ใช้นั่นเองและส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่ง
ที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง ช่วยแปลงสัญญาณจาก Computer ให้กลายเป็นสัญญาณภาพ
ออกทาง Monitor ได้นั้น ก็คือ
การ์ดแสดงผลหรือที่เราเรียกกันติดๆ ปากว่า VGA Card ( หรือ Display
Card หรือ Display Adaptor ) นั่นเอง
ทั้งสองส่วนนี้ รวมแล้ว ก็เรียกได้ว่า เป็น "ระบบการแสดงผล" นั่นเองVGA Card / Display Card
VGA Card นี้ มีหน้าที่หลักๆ คือ จะรับสัญญาณข้อมูล Digital มาจากหน่วยประมวลผลกลาง แล้วจึงทำการแปลงสัญญาณผ่านทางตัวแปลงสัญญาณภาพ หรือ RAMDAC ( RAM Digital-to-Analog Convertor ) ซึ่งเป็นตัวแปลงข้อมูลใน RAM ที่เก็บเป็น Digital ให้เป็นสัญญาณ Analog ส่งต่อไปยังจอ Monitor เพื่อทำการแสดงผลอีกทีหนึ่ง
ส่วนประกอบในการทำงานของ VGA Card นั้น ประกอบด้วยส่วนหลักๆ อยู่ 3 ส่วนที่ควรจะต้องพิจารณาในการเลือกซื้อ คือ
1. ระบบ Bus ที่ใช้ในการติดต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU :
ปัจจุบันนี้ VGA Card ที่เราๆ ใช้กันอยู่ จะมีการติดต่อ ส่งข้อมูลกับหน่วยประมวลผลกลาง ผ่านทางระบบ Bus บน Mainboard อยู่ 2 แบบ คือ ผ่านทาง PCI ( Peripheral Component Interconnect ) กับ AGP ( Accelerated Graphic Port )
ระบบ PCI หรือ Peripheral Component Interconnect ก็เป็น Local Bus อีกแบบหนึ่ง ที่พัฒนาขึ้นโดย Intel ในเดือนกรกฎาคม ปี 1992 โดยที่แยกการควบคุมของระบบบัส กับ CPU ออกจากกันและส่งข้อมูลผ่านกันทางวงจรเชื่อม ( Bridge Circuit ) ซึ่ง จะมี Chipset ที่คอยควบคุมการทำงานของระบบบัสต่างหาก โดยที่ Chipset ที่ควบคุมนี้จะเป็นลักษณะ Processor Independent คือ ไม่ขึ้นกับตัว Processor ( หรือ CPU )
แรกเริ่มที่เปิดตัวนั้น PCI จะเป็นระบบบัสแบบ 32 Bit ที่ทำงานด้วยความเร็ว 33 MHz ซึ่งสามารถให้อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูลถึง 133 M/s
ต่อมา เมื่อ Intel เปิดตัว CPU ใน Generation ที่ 5 ของตน Intel Pentium ซึ่งเป็น CPU ขนาด 64 Bit ทาง Intel ก็ได้ทำการกำหนดมาตรฐาน ของ PCI เสียใหม่ เป็น PCI 2.0 ในเดือนพฤษภาคม ปี 1993 ซึ่ง PCI 2.0 นี้ก็จะมีความกว้างของเส้นทางข้อมูลถึง 64 Bit ซึ่งหากใช้งานกับ Card 64 Bit แล้ว ก็จะสามารถให้อัตราเร็วในการส่งผ่านที่สูงสุดถึง 266 M/s
จุดเด่นของ PCI ที่เห็นได้ชัด นอกเหนือไปจากข้างต้นก็ยังมีเรื่องของ Bus Mastering ซึ่ง PCI นั้น ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับ EISA และ MCA แล้ว Chipset ที่ใช้เป็นตัวควบคุมการทำงาน ก็ยังสนับสนุนระบบ ISA และ EISA อีกด้วย ซึ่งก็สามารถทำให้ผลิต Mainboard ที่มีทั้ง Slot ISA , EISA และ PCI รวมกันได้ นอกจากนั้น ยังสนับสนุนระบบ Plug-and-Play อีกด้วย (เป็นมาตรฐานที่พัฒนาในปี 1992 ที่กำหนดให้ Card แบบ Plug-and-Play นี้ จะไม่มี Dipswitch หรือ Jumper เลย ทุกอย่าง ทั้ง IRQ, DMA หรือ Port จะถูกกำหนดไว้แล้วแต่เราก็สามารถเลือก หรือ เปลี่ยนแปลงได้จาก Software )
ในกลางปี 1996 เมื่อ Intel ได้ทำการเปิดตัว Intel Pentium II ซึ่งพร้อมกันนั้นก็ได้ทำการเปิดตัวสถาปัตยกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยแสดงผลด้วย นั่นก็คือ Accelerated Graphics Port หรือ AGP ซึ่งก็ได้เปิดตัว Chipset ที่สนับสนุนการทำงานนี้ด้วย คือ 440LX ( ซึ่งแน่นอน Chipset ที่ออกมาหลังจากนี้ ก็จะสนับสนุนการทำงานของ AGP ด้วย )
AGP นั้นจะมีการเชื่อมต่อกับ Chipset ของระบบแบบ Point-to-Point ซึ่งจะช่วยให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Card AGP กับ Chipset ของระบบได้เร็วขึ้นและยังมีเส้นทางเฉพาะ สำหรับติดต่อกับหน่วยความจำหลักของระบบ เพื่อใช้ทำการ Render ภาพ แบบ 3D ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
จากเดิม Card แสดงผล แบบ PCI นั้น จะมีปัญหาเรื่องของหน่วยความจำบน Card เพราะเมื่อต้องการใช้งานด้านการ Render ภาพ 3 มิติ ที่มีขนาดใหญ่มากๆก็จำเป็นต้องมีการใช้หน่วยความจำบน Card นั้นมากๆ เพื่อรองรับขนาดของพื้นผิว ( Texture ) ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงาน Render แน่นอน เมื่อหน่วย ความจำมากๆราคาก็ยิ่งแพง ดังนั้น ทาง Intel จึงได้ทำการคิดค้นสถาปัตยกรรมใหม่เพื่องานด้าน Graphics นี้ โดยเฉพาะ AGP จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาAGP นั้นจะมี mode ในการ Render อยู่ 2 แบบ คือ Local Texturing และ AGP Texturing โดยที่ Local Texturing นั้น จะทำการ copy หน่วยความจำ ของระบบไปเก็บไว้ที่เฟรมบัฟเฟอร์ของ Card ( ซึ่งกำลังจะกล่าวถึงในหัวข้อย่อยถัดไป )
จากนั้นจึงทำการประมวลผลโดยดึงข้อมูลจากเฟรมบัฟเฟอร์บน Card นั้นอีกทีซึ่งวิธีการนี้ ก็เป็นวิธีการที่ใช้บนระบบ PCI ด้วยวิธีนี้จะพึ่งขนาดของหน่วยความจำบน Card มาก
AGP Texturing นั้นเป็นเทคนิคใหม่ ที่ช่วยลดปริมาณของหน่วยความจำ หรือ เฟรมบัฟเฟอร์บน Display Card ลงได้มาก เพราะสามารถทำการใช้งาน หน่วยความจำของระบบให้เป็นเฟรมบัฟเฟอร์ได้เลยโดยไม่ต้องดึงข้อมูลมาพักไว้ที่เฟรมบัฟเฟอร์ของ Card ก่อน
โดยปกติแล้ว AGP จะทำงานที่ความเร็ว 66 MHz ซึ่งแม้ว่าระบบจะใช้ FSB เป็น 100 MHz แต่มันก็จะยังคงทำงานที่ 66 MHz ( ซึ่งตรงจุดนี้ Mainboard บางรุ่น บางยี่ห้อสามารถปรับแต่งค่านี้ได้ แต่ ทั้งนี้ และ ทั้งนั้น ก็ควรคำนึงถึงขีดจำกัดของ Card และ อุปกรณ์อื่นๆ ด้วย ) ซึ่ง ใน mode ปกติของมัน ก็จะมีความสามารถแทบจะเหมือน กับ PCI แบบ 66 MHz เลย โดยจะมีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงถึง 266 Mbps และนอกจากนี้ยังสามารถทำงานได้ทั้งขอบขาขึ้นและขอบขาลงของ 66 Mhzจึงเท่ากับว่ามันทำงานที่ 133 MHz ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการส่งถ่ายข้อมูลขึ้นได้สูงถึง 533 Mbps ( แน่นอนว่าทั้ง Card ที่ใช้ และ Chipset ที่ใช้ ต้องสนับสนุนการทำงานแบบนี้ด้วย ) ซึ่งเรียก mode นี้ว่า mode 2X และ mode ปกติว่าเป็น mode 1X
|
การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ
ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่งที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า
การ์ดสำหรับแสดง
จำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดโดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA
(Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 800X600
พิกเซลจอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้วจอภาพที่
แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี
จะแสดงความสมจริงได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานการฟฟิก มัลติมีเดียและสิ่งพิมพ์
ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216สีจะให้สีสมจริงตามธรรมชาติสีระดับนี้เหมาะสำหรับงาน
ตกแต่งภาพและงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง
|
|
|
ผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพสำหรับปัจจุบันนี้ มอนิเตอร์ LCD นั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์
แบบพกพาต่างๆไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ค และ PDA (พวกเครื่องปาล์ม)รวมไปถึงก้าวมามีบทบาทแทนที่มอนิเตอร์แบบ
CRT (Cathode-ray tube)ของเครื่องตั้งโต๊ะที่เคยใช้กันแล้ว ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆก็คือ
Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN)
Thin Flim Transistor (TFT)
CRT (Cathode-ray tube)ของเครื่องตั้งโต๊ะที่เคยใช้กันแล้ว ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆก็คือ
Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN)
Thin Flim Transistor (TFT)
จอ LCD แบบ TFT หรือ Thin Film Transistor นั้นถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ของ จอ LCD แบบ DSTN
โดยเป็นแบบ Active Matrix ทำให้มีการตอบสนอง
ต่อการเปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็ว และมีความคมชัดขึ้น รวมทั้งมอนิเตอร์แบบ
TFTจะมีรูปร่างบางกว่า มอนิเตอร์แบบ LCDปกติ
จึงทำให้มันมีน้ำหนักเบากว่าและอัตรารีเฟรชของภาพก็ใกล้เคียง กับมอนิเตอร์แบบCRT
เนื่องจากว่ากระแสไฟฟ้านั่นวิ่งเร็วกว่าจอ LCD แบบ DSTN
ประเภทของจอภาพ
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.1
จอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube)
1.2
จอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal Display)
1.1 จอภาพแบบ CRT
(Cathode Ray Tube)คือ
หลอดภาพที่ใช้กันมาตั้งแต่ยุค
แรกๆ มีลักษณะคล้าย TV กินไฟมากและมีไฟแรงสูงเป็นหมื่นโวลต์
สำหรับควบคุม
อิเล็กตรอนในการทำให้เกิดภาพ จอCRT สามารถแบ่งออกตามสีที่แสดงออกมาบน
หน้าจอได้สองแบบคือ จอภาพสีเดียว(Monochrome) และจอภาพสี(Color)
1.1.1
จอภาพสีเดียว(Monochrome) หมายถึงจอภาพที่มีสีพื้นเป็นสีดำและ
แสดงตัวอักษรออกมาเพียงสีเดียว สีที่พบเห็นทั่วๆ
ไป คือ สีขาว สีเขียว สีส้ม เป็นต้น
1.1.2
จอภาพสี (Color) เป็นจอภาพที่แสดงสีได้หลายสีเหมาะกับงานด้าน
กราฟฟิกและมัลติมีเดีย
1.2 จอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal
Display)จอภาพแบบแอลซีดีซึ่งมี
ลักษณะแบนราบจะมีขนาดเล็ก และบาง
เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที
หากจอภาพแบบแอกตีฟแมทริกซ์สามารถพัฒนาให้มีขนาดใหญ่กว่า 15 นิ้วได้
การนำมาใช้แทนจอภาพซีอาร์ทีก็จะมีหนทางมากขึ้น
ความสำเร็จของจอภาพแอลซีดีที่จะเข้ามาแข่งขันกับจอภาพแบบซีอาร์ที
อยู่ในเงื่อนไขสองประการคือ
1. จอภาพแอลซีดีมีราคาแพงกว่าจอภาพซีอาร์ที และมีขนาดจำกัดใน
อนาคตและมีโน้มด้านราคาของจอภาพแอลซีดีจะลดลงได้อีกมาก
2. เทคโนโลยีสำหรับอนาคตมีโอกาสเป็นไปได้สูงมากที่จะทำให้จอภาพ
แอลซีดีขนาดใหญ่
วิธีพิจารณาในการเลือกซื้อจอภาพ
จอธรรมดาหรือจอกระจก
เรื่อง ของหน้าจอแสดงผลถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่หลายคนนำมาใช้ในการเลือกซื้อ
จอ LED ด้วยเช่น กันซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกทั้งแบบจอแบบเคลือบเงา หรือที่เรียกว่า
“จอกระจก” จอแบบดังกล่าวนี้
มีคุณสมบัติ ที่ดีในการชมภาพยนตร์ และเล่นเกมเนื่องจากให้สีสันที่สดใส
และแสงที่สว่าง จึงมักได้รับความนิยมหมู่คนที่ชอบความบันเทิงเป็นหลัก
แต่ราคาก็ต้องสูงขึ้นไปด้วยอย่างแน่นอน ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นจอธรรมดา
คุณสมบัติที่ดีอยู่ที่การให้ความคมชัดที่สูงไม่เน้นที่ความสว่างมากนักจึงเหมาะกับผู้ที่ใช้
งานอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ๆนอกจากนี้ยังไม่มีการสะท้อนรบกวนของแสงเช่นเดียวกับจอกระจกอีกทั้งจอแบบดังกล่าวยังมีราคาที่ไม่สูงอีกด้วย
ทั้งสองแบบนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปส่วนการจะเลือกแบบใดนั้นให้ดูที่ความต้องการใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นหลัก
1. รูปลักษณ์และความสวยงาม
หลายครั้งที่เรามักจะให้ความรู้สึกในเรื่องรูปลักษณ์เหนือกว่าประสิทธิภาพที่จะได้รับ เช่นเดียวกับจอแอลอีดีก็เช่นกันที่ผู้ใช้มักจะเอาความสวยงามมาเป็นตัวเปรียบเทียบ แต่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดเสียทีเดียว เพราะเรื่องของดีไซน์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้ต้องสัมผัส และพบเจอในการใช้งานอยู่ทุกวัน หากไม่สวยโดนใจหรือไม่เข้ากับเฟอร์นิเจอร์ในบ้านมันก็คงดูขัดตา
นอกจากนี้เรื่องของการออกแบบก็ยังรวมไปถึงฟังก์ชัน สำหรับการใช้งานต่าง ๆเช่นผู้ที่นำไปใช้ใน การพรีเซนเทชั่นอาจเลือกเป็นจอที่ปรับมุมมองซ้าย - ขวาหรือก้มเงยได้สะดวก หรือบางคนอาจต้องการ ขนาดที่บางเพื่อที่จะจัดวางหรือเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งบางครั้งด้านขอบจอที่บางก็ทำให้หลายคนชอบเช่นกัน ในกรณีที่ใช้จอสองตัวในการเล่นเกม หรือทำงานกราฟิกซึ่งถ้าเป็นรูปแบบเหล่านี้ ก็นำมาใช้ในการพิจารณาได้ดี
2. ความละเอียด (Resolution)
คงเคยเห็นบ่อย ๆ สำหรับ Resolution ที่มักจะต่อท้ายรายละเอียดของรุ่นต่าง ๆ ของจอแอลอีดีจะได้รู้กันละครับว่าปกติแล้ว Resolution ของจอแอลซีดีปกติแล้วมีความละเอียดเท่าไหร่ ความละเอียดส่วนใหญ่ถูกกำหนดด้วยขนาดของจออยู่แล้ว เช่น จอขนาดเล็ก 15 นิ้ว ก็จะให้ความละเอียดที่ 1024x768 แต่ถ้า เป็น 18.5 นิ้ว จะอยู่ที่ 1600x900 และ 21.5 นิ้วขึ้นไป 1920x1080 ซึ่งการจะเลือกใช้ ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการทำงานไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมชมภาพยนตร์งานเอกสาร ตัดต่อ กราฟิกก็ล้นแต่มีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป
3. Response Time สำคัญเพียงใด
เป็นอัตราความเร็วในการตอบสนองของเม็ดสีในการเปลี่ยนสีจากดำมาเป็นขาวแล้วกลับเป็นดำ (B/W) หรือบางครั้งอาจเป็นจากสีเทามาเป็นเทา (G/G) โดยการบอกเวลาเป็นวินาทีซึ่งตัวเลขยิ่งน้อย ก็จะส่งผลให้การแสดงภาพมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากตัวเลขมากหรือช้าอาจเกิดอาการที่เรียกว่า ภาพซ้อน หรือ Ghost เกิดขึ้นจนทำให้การเล่นเกมหรือการชมภาพยนตร์เสียอรรถรสไป ดังนั้นการเลือกซื้อปัจจุบันควรจะอยู่ที่ 2-8 ms
4. Contrast Ratio
ค่า Contrast Ratio เป็นค่าที่นำมาใช้ในการวัดอัตราส่วนของความสว่าง และความมืดว่ามีมากน้อย เพียงใด ซึ่งจะส่งผลต่อความคมชัด สมจริงที่เกิดขึ้นในภาวะแสงต่าง ๆการเลือกให้ดูตัวเลขที่สูงเป็นหลัก โดยปัจจุบันมีให้เลือกตั้งแต่ 12,000,000 : 1ไปจนถึงบางค่ายมีให้เลือกถึง 100,000,000 : 1 ซึ่งก็แล้ว แต่การวัดว่าเป็นแบบ Dynamic หรือ Mega
5. พอร์ต D-Sub DVI, HDMI
ในส่วนของพอร์ตแสดงผล หากเป็นไปได้ควรเลือกจอที่มีพอร์ตแบบ DVI มาให้หรือมี 2 แบบคือ ทั้ง D-Sub และ DVI เนื่องจากปัจจุบันแม้ว่าการแสดงผลจะยังมีพอร์ต D-Sub ให้ใช้อยู่ก็ตาม แต่แนวโน้มในไม่ช้ากราฟิกการ์ดจอรุ่นใหม่ ๆ ที่ออกมานั้น จะมีแต่พอร์ตที่เป็น DVI เป็นส่วนใหญ่ครับซึ่งการ์ดหลายรุ่นจะเป็น แบบ Dual DVI อีกด้วยจึงไม่จำเป็นต้องหาตัวแปลงสัญญาณมาใช้นอกจากนี้ DVI ยังให้สัญญาณที่นิ่งกว่าเนื่องจากไม่ต้องแปลงจากดิจิตอลเป็นอะนาล็อกไปมาอีกด้วย HDMI จะมีสัญญาณทั้งภาพและเสียงออกมาพร้อมกัน HDMI จะเสถียรกว่า DVI
6. วิธีการเช็ค Dead Pixels และการรับประกัน Dead Pixels คือ จุดสีดำ Bright คือ จุดสี
การตรวจสอบ Dead หรือ Dot Pixel ก็ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด ส่วนใหญ่ทางร้านจะมีการทดสอบให้ อยู่แล้วถ้าไม่มีโปรแกรมสำหรับการตรวจสอบโดยตรง อาจใช้วิธีเบื้องต้นในการทดสอบง่าย ๆโดยเปลี่ยน สีหน้าจอเดสก์ทอปให้เป็นสีขาว เหลือง แดง น้ำเงิน และดำทีละสีแล้วกวาดสายตาไปให้ทั่ว ๆ จนแน่ใจว่า ไม่มีจุดสีที่แปลกเด่นขึ้นมาทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบร้อน หลังจากนั้นให้ปรับค่า Default ของหน้าจอให้เป็น แบบมาตรฐานดูว่ามีสิ่งใดผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น ขอบของจอผิดเพี้ยนความสว่างไม่เท่ากันหรืออื่น ๆ ส่วนใหญ่จะมี 4 จุดขึ้นไปถึงจะเปลี่ยนให้ยกเว้นบางแบรนด์1 จุด จะเปลี่ยนให้ เงื่อนไขให้สอบถามทางร้านที่ซื้ออีกทีนึง
1. รูปลักษณ์และความสวยงาม
หลายครั้งที่เรามักจะให้ความรู้สึกในเรื่องรูปลักษณ์เหนือกว่าประสิทธิภาพที่จะได้รับ เช่นเดียวกับจอแอลอีดีก็เช่นกันที่ผู้ใช้มักจะเอาความสวยงามมาเป็นตัวเปรียบเทียบ แต่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดเสียทีเดียว เพราะเรื่องของดีไซน์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้ต้องสัมผัส และพบเจอในการใช้งานอยู่ทุกวัน หากไม่สวยโดนใจหรือไม่เข้ากับเฟอร์นิเจอร์ในบ้านมันก็คงดูขัดตา
นอกจากนี้เรื่องของการออกแบบก็ยังรวมไปถึงฟังก์ชัน สำหรับการใช้งานต่าง ๆเช่นผู้ที่นำไปใช้ใน การพรีเซนเทชั่นอาจเลือกเป็นจอที่ปรับมุมมองซ้าย - ขวาหรือก้มเงยได้สะดวก หรือบางคนอาจต้องการ ขนาดที่บางเพื่อที่จะจัดวางหรือเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งบางครั้งด้านขอบจอที่บางก็ทำให้หลายคนชอบเช่นกัน ในกรณีที่ใช้จอสองตัวในการเล่นเกม หรือทำงานกราฟิกซึ่งถ้าเป็นรูปแบบเหล่านี้ ก็นำมาใช้ในการพิจารณาได้ดี
2. ความละเอียด (Resolution)
คงเคยเห็นบ่อย ๆ สำหรับ Resolution ที่มักจะต่อท้ายรายละเอียดของรุ่นต่าง ๆ ของจอแอลอีดีจะได้รู้กันละครับว่าปกติแล้ว Resolution ของจอแอลซีดีปกติแล้วมีความละเอียดเท่าไหร่ ความละเอียดส่วนใหญ่ถูกกำหนดด้วยขนาดของจออยู่แล้ว เช่น จอขนาดเล็ก 15 นิ้ว ก็จะให้ความละเอียดที่ 1024x768 แต่ถ้า เป็น 18.5 นิ้ว จะอยู่ที่ 1600x900 และ 21.5 นิ้วขึ้นไป 1920x1080 ซึ่งการจะเลือกใช้ ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการทำงานไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมชมภาพยนตร์งานเอกสาร ตัดต่อ กราฟิกก็ล้นแต่มีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป
3. Response Time สำคัญเพียงใด
เป็นอัตราความเร็วในการตอบสนองของเม็ดสีในการเปลี่ยนสีจากดำมาเป็นขาวแล้วกลับเป็นดำ (B/W) หรือบางครั้งอาจเป็นจากสีเทามาเป็นเทา (G/G) โดยการบอกเวลาเป็นวินาทีซึ่งตัวเลขยิ่งน้อย ก็จะส่งผลให้การแสดงภาพมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากตัวเลขมากหรือช้าอาจเกิดอาการที่เรียกว่า ภาพซ้อน หรือ Ghost เกิดขึ้นจนทำให้การเล่นเกมหรือการชมภาพยนตร์เสียอรรถรสไป ดังนั้นการเลือกซื้อปัจจุบันควรจะอยู่ที่ 2-8 ms
4. Contrast Ratio
ค่า Contrast Ratio เป็นค่าที่นำมาใช้ในการวัดอัตราส่วนของความสว่าง และความมืดว่ามีมากน้อย เพียงใด ซึ่งจะส่งผลต่อความคมชัด สมจริงที่เกิดขึ้นในภาวะแสงต่าง ๆการเลือกให้ดูตัวเลขที่สูงเป็นหลัก โดยปัจจุบันมีให้เลือกตั้งแต่ 12,000,000 : 1ไปจนถึงบางค่ายมีให้เลือกถึง 100,000,000 : 1 ซึ่งก็แล้ว แต่การวัดว่าเป็นแบบ Dynamic หรือ Mega
5. พอร์ต D-Sub DVI, HDMI
ในส่วนของพอร์ตแสดงผล หากเป็นไปได้ควรเลือกจอที่มีพอร์ตแบบ DVI มาให้หรือมี 2 แบบคือ ทั้ง D-Sub และ DVI เนื่องจากปัจจุบันแม้ว่าการแสดงผลจะยังมีพอร์ต D-Sub ให้ใช้อยู่ก็ตาม แต่แนวโน้มในไม่ช้ากราฟิกการ์ดจอรุ่นใหม่ ๆ ที่ออกมานั้น จะมีแต่พอร์ตที่เป็น DVI เป็นส่วนใหญ่ครับซึ่งการ์ดหลายรุ่นจะเป็น แบบ Dual DVI อีกด้วยจึงไม่จำเป็นต้องหาตัวแปลงสัญญาณมาใช้นอกจากนี้ DVI ยังให้สัญญาณที่นิ่งกว่าเนื่องจากไม่ต้องแปลงจากดิจิตอลเป็นอะนาล็อกไปมาอีกด้วย HDMI จะมีสัญญาณทั้งภาพและเสียงออกมาพร้อมกัน HDMI จะเสถียรกว่า DVI
6. วิธีการเช็ค Dead Pixels และการรับประกัน Dead Pixels คือ จุดสีดำ Bright คือ จุดสี
การตรวจสอบ Dead หรือ Dot Pixel ก็ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด ส่วนใหญ่ทางร้านจะมีการทดสอบให้ อยู่แล้วถ้าไม่มีโปรแกรมสำหรับการตรวจสอบโดยตรง อาจใช้วิธีเบื้องต้นในการทดสอบง่าย ๆโดยเปลี่ยน สีหน้าจอเดสก์ทอปให้เป็นสีขาว เหลือง แดง น้ำเงิน และดำทีละสีแล้วกวาดสายตาไปให้ทั่ว ๆ จนแน่ใจว่า ไม่มีจุดสีที่แปลกเด่นขึ้นมาทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบร้อน หลังจากนั้นให้ปรับค่า Default ของหน้าจอให้เป็น แบบมาตรฐานดูว่ามีสิ่งใดผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น ขอบของจอผิดเพี้ยนความสว่างไม่เท่ากันหรืออื่น ๆ ส่วนใหญ่จะมี 4 จุดขึ้นไปถึงจะเปลี่ยนให้ยกเว้นบางแบรนด์1 จุด จะเปลี่ยนให้ เงื่อนไขให้สอบถามทางร้านที่ซื้ออีกทีนึง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น