วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 1 การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ หมายถึง  เครื่องคำนวณ  อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า  เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล  ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ หรืออาจกล่าวได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึง  เครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล  จากคุณสมบัตินี้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่ใช่เครื่องคิดเลข  เครื่องคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการคือ
1. ความเร็ว  (Speed)  เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูงมาก  ซึ่งหน่วยความเร็วของการทำงานของคอมพิวเตอร์วัดเป็น
     - มิลลิเซกัน (Millisecond)      ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1000 วินาที  หรือ ของวินาที
     - ไมโครเซกัน (Microsecond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000 วินาที    หรือของวินาที
     - นาโนเซกัน (Nanosecond)    ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000,000 วินาที  หรือของวินาที
 ความเร็วที่ต่างกันนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละยุค  ซึ่งได้มีการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลข้อมูล ได้เร็วในเวลาไม่เกิน 1 วินาที  จะทำให้คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการนำมาเป็นเครื่องมือใช้งานอย่างดียิ่ง
2. หน่วยความจำ (Memory)  เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยความจำ  ซึ่งสามารถใช้บันทึกและเก็บ
 ข้อมูลได้คราวละมากๆ และสามารถเก็บคำสั่ง (Instructions) ต่อๆกันได้ที่เราเรียกว่าโปรแกรม แลนำมาประมวลในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเก็บข้อมูลได้ครั้งละมากๆ เช่น    การสำรวจสำมะโนประชากร  หรือรายงานผลการเลือกตั้งซึ่งทำให้มีการประมวลได้รวดเร็วและถูกต้อง   จากการที่หน่วยความจำสามารถบันทึกโปรแกรมและข้อมูลไว้ในเครื่องได้  ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติพิเศษ  คือสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติ   ในกรณีที่มีงานที่ต้องทำซ้ำๆหรือบ่อยครั้งถ้าใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงซึ่งจะได้ทั้งความรวดเร็ว  ถูกต้องแม่นยำและประหยัดเนื่องจากการเขียนคำสั่งเพียงครั้งเดียวสามารถทำงานซ้ำๆได้คราวละจำนวนมากๆ 
3. ความสามารถในการเปรียบเทียบ (Logical)  ในเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยหน่วยคำนวณและตรรกะซึ่งนอกจากจะสามารถในการคำนวณแล้วยังสามารถใช้ในการเปรียบเทียบซึ่งความสามารถนี้เองที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างกับเครื่องคิดเลข และคุณสมบัตินี้ทีทำให้นักคอมพิวเตอร์สร้างโปรแกรมอัตโนมัติขึ้นใช้อย่างกว้างขวาง เช่นการจัดเรียงข้อมูลจำเป็นต้องใช้วิธีการเปรียบเทียบ การทำงานซ้ำๆตามเงื่อนไขที่กำหนด หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในกิจการต่างๆซึ่งเกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน และการใช้แรงงานจากคอมพิวเตอร์แทนแรงงานจากมนุษย์ทำให้รวดเร็วถูกต้อง สะดวกและแม่นยำ เป็นการผ่อนแรงมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก 

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำงานตามชุดคำสั่งอย่างอัตโนมัติและให้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ รวมเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) หน่วยแสดงผล (Output Unit) กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ เริ่มด้วยเมื่อมีการกดปุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมหรือชุึดคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำหลัก จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมที่จะทำงาน เมื่อตรวจสอบเสร็จคอมพิวเตอร์จะแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะทำงาน ก็จะมีการป้อนคำสั่งหรือโปรแกรมหรือข้อมูลโดยผ่านหน่วยรับข้อมูล แล้วนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก ต่อจากนั้น หน่วยประมวลผลกลางก็จะทำการตามคำสั่งของโปรแกรมซึ่งเรียกว่า การประมวลผล แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้เก็บไว้ที่ หน่วยความจำ และจะแสดงผลลัพธ์ผ่านหน่วยแสดงผลเมื่อมีคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยรับข้อมูล คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่ง จากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่งนั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป อุปกรณ์รับข้อมูล ได้แก่ Mouse Keyboard Joy Sticks Track Ball Touch Screen Scanner Digital Camera Light Pen POS (Point of Sale Terminal) OMR (Optical Mark Reader) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยประมวลผลกลาง คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล และควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทั้งหมด ให้ทำงานอย่างถูกต้อง หน่วยคำนวณ (Arithmetic Logic Unit) ทำ หน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ เช่น - การคำนวณทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การบวก ลบ คูณ หาร - การกระทำทางตรรกะ (AND , OR) - การเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบค่าของข้อมูล 2 ตัวว่ามีค่าเท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเป็นตัวเลข หรือตัวอักษรก้สามารถเปรียบเทียบได้ - การเลื่อนข้อมูล (Shift) - การเพิ่มและการลด (Increment and Decrement) - การตรวจสอบบิท (Test Bit) หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หน่วยความจำหลัก เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. รอม (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่ - ใช้บรรจุโปรแกรมสำคัญ ที่ใช้ในการสตาร์ทอัพเครื่อง - เก็บโปรแกรมคำสั่งไว้อย่างถาวร - ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง ข้อมูลก็จะยังคงอยู่ - เขียนหรือบันทึกข้อมูลคำสั่งได้เพียงครั้งเดียว ในขั้นตอนการผลิตเครื่องจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีก - อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม 2. แรม (RAM : Random Access Memory) - ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผล - ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย - ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย - ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งต่างๆ ขณะที่เรากำลังทำงานอยู่กับเครื่อง เพื่อใช้ในการประมวลผล - เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ชั่วคราว สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้โดยตรง - สามารถอ่านหรือเขียนทับข้อมูลลงไปได้ตามต้องการ ถ้าไฟดับข้อมูลจะสูญหาย - การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) หน่วยความจำสำรอง เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้ ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง ได้แก่ จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) ฮาร์ดิสก์ จานแม่เหล็กสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Direct Access) ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดิสก์ เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) สามารถบันทึกและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) การบันทึกทำโดยสร้างสนามแม่เหล็กลงบนเนื้อเทป จานแสง (Optical Disk) เครื่องอ่านแผ่นซีดี (CD-ROM Drive) เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น CD-ROM (Compact Disc Read-Only Memory) มีความจุข้อมูลสูงมาก ตั้งแต่ 650 เมกะไบท์ (MB) สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยแสดงผล คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ แสดงผลทางบนจอภาพ การแสดงผลทางจอภาพ เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Soft Copy คือ จะแสดงผลลัพธ์ขณะที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ อุปกรณ์คือ จอภาพคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งภาพบนจอประกอบด้วยจุดหรือ pixel หลายๆ pixel สามารถแสดงผลความละเอียดได้หลายระดับ เช่น 640 * 480 จุด , 800 * 600 จุด , 1024 * 786 จุด แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ การแสดงผลทางจอภาพ หรือเรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Hard Copy คือ สามารถแสดงผลลัพธ์คงทนอยู่นาน ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง อุปกรณ์ที่ใช้ คือ Printer



ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

1.ด้านการศึกษา
-ช่วยนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรุปแบบ
-ช่วยรวบรวมข้อมูลต่างๆ
-ช่วยให้ผู้เรียนได้ด้วยตัวเอง
-ช่วยแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวความคิด
-ช่วยขยายโอกาสในการศึกษา
-ช่วยผลิตหน่วยการศึกษา
-ช่วยอำนวยความสะดวกในการศึกษา
2.ด้านการสื่อสาร
-ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
-เป็นสื่อกลางในการรับและส่งข้อมูล
-ช่วยกระจายข้อมูล
3.ด้านการบริหารประเทส
-เป็นช่องทางการรับรู้ข้อมูลจากประชาชน
-เป็นช่องทางการนำเสนอข้อมูลไปสู่ประชาชน
-ส่งเสริมการแสดงออกซึ่งประชาธิปไำตย
-เพิ่มทัศนคติที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศด้านบวกให้แก่ประชาชน
-เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานของรัฐบาล
-ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและข้าราชการในการจัดการเกี่ยวงานด้านทะเบียนราษฎร
4.ด้านสังคมศาสตร์
-ช่วยเก็บข้อมูลสถิติด้านสังคมศาสตร์
-ช่วยคำนวณแนวโน้มปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
-ช่วนนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของกราฟ แผนภูมิ หรือภาพ 3 มิติ ทำให้สามรถเปรียบเทียบข้อมูลได้ง่ายขึ้น
5.ด้านวิศวกรมม
-ช่วยออกแบบและคำนวณโครงสร้างบ้่านและอาคาร
-ควบคุมการทำงานด้านก่อสร้างโมเดลจริง
-ควบคุมการทำงานด้านก่อสร้่างที่มีความละเอียดอ่อน
-ช่วยประมวลผลและปรเมิณสถานการณ์ที่อาจเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต
6.ด้านวิทยาศาสตร์
-ช่วยเก็บและประมวลผลข้อมูลในงานวิจัยและการทดลองต่างๆ
-เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์นั้น
-ช่วยทำงานวิจัยหรืองานทดลองเพื่อลดความผิดพลาดจากการทดลองกับของจริง
-สร้างแบบจำลองงานทดลองเพื่อลดความผิดพลาดจากการทดลองกับของจริง
7.ด้านการแพทย์
-ลดความผิดพลาดและเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยและรักษาโรค
-เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ
-ช่วยลดเวลาในการรักษาโรค
8.ด้านอุตสาหกรรม
-ช่วยควบคุมการผลิตชิ้นงาน
-ช่วยทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัย
-ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
-คำนวณปริมาณวัตถุดิบ สินค้า และกำไร
9.ด้านธุรกิจ
-เป็นช่องทางในการนำเสนอสินค้า
-ตรวจสอบและสั่งซื้อสินค้า
-ขยายโอกาสทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ
-ช่วยคำนวณตัวเลขทางธุริกิจได้อย่างแม่นยำ
-เพิ่มความสะดวก
10.ด้านธนาคาร
-ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน
-ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร
-ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าไว้ในส่วนกลาง
11.ด้านสำนักงาน
-ใช้สร้างงานนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ
-ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เอกสาร
-ช่วยเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์
-ช่วยจัดทำ แก้ไข หรือคัดลอกเอกสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
12.ด้านควาัมบันเทิง
-ช่วยให้เกิดความสนุกสนาน
-เพิ่มทักษะการใช้คอมพิวเตอร๋
์ -ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
-ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมอง
-ประหยัดค้าใช้จ่ายและเวลาในการหาความบันเทิง
-เป็นพื้นฐานในการสร้างแอนิเมชันและเทคนิคพิเศษภาพยนต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น